วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กินอย่างไรเมื่อเป็นโรคไตเรื้อรัง ผญ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ

การหลีกเลี่ยงโรคไต คือการรู้จักดูแลตนเองและป้องกันไม่ให้เป็นโรค หรือถ้าเริ่มเป็นแล้วก็ควรระมัดระวังไม่ให้โรครุนแรงขึ้นจนเข้าถึงภาวะที่เรียกว่าไตวายระยะสุดท้าย เพราะเมื่อถึงเวลานั้นไม่เพียงแต่ผู้ป่วยเท่านั้นที่ทุกข์ทรมาน ครอบครัวและคนใกล้ชิดก็พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย
รู้จักโรคไตเรื้อรัง
ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญของคนเรา ทำงานหนักมากและไม่มีเวลาพักผ่อน หน้าที่หลักของไตคือ การกรองของเสียจากเลือดและขับถ่ายออกทางปัสสาวะ รวมทั้งรักษาดุลของน้ำ เกลือแร่และความเป็นกรดด่างของเลือด 3โรคไตเรื้อรัง จะแสดงอาการออกมาในลักษณะที่เรียกกันว่า ไตเสื่อมหรือไตวาย ซึ่งหมายถึงภาวะที่มีการทำงานของไตลดลง จนเกิดการคั่งของเสียประเภทยูเรีย และของเสียอื่นๆ โดยปกติเราจะรู้ว่าไตเสื่อมมากหรือน้อยได้ด้วยการเจาะเลือด และวัดค่าของเสียบียูเอ็น (blood urea nitrogen) และค่าครีอะตินีน (creatinine) ถ้าค่าบียูเอ็นและครีอะตินีนสูงกว่าค่าปกติมาก แสดงว่าไตมีการสูญเสียมาก
ชนิดของภาวะไตวาย
ภาวะไตวายมี ๒ แบบคือ ภาวะที่ไตสูญเสียการทำงานเพียงชั่วคราว และการทำงานของไตสูญเสียอย่างถาวร
แบบที่ ๑ ภาวะที่ไตสูญเสียการทำงานเพียงชั่วคราว สามารถฟื้นกลับมาทำหน้าที่ได้อีกหากรักษาไตจนหายเป็นปกติ ภาวะไตวายชั่วคราวนี้ เรียกได้อีกชื่อว่า โรคไตแบบเฉียบพลัน
แบบที่ ๒ การทำงานของไตสูญเสียอย่างถาวร ไม่สามารถกลับมาเป็นปกติได้ ซึ่งเรียกว่าแบบเรื้อรัง
ปัญหาไตเสื่อมนั้นมาจากหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งมาจากอาการไตอักเสบ หรือการเป็นนิ่วในไต ที่ทำให้ไตมีการเสื่อมสภาพลง ปัจจัยทางอาหารและสิ่งแวดล้อมก็มีส่วนทำให้เกิดภาวะไตเสื่อมได้ เช่น การได้รับสารพิษ การกินอาหารเค็มจัด หรือการได้รับอาหารประเภทโปรตีนมากเกินไปเป็นระยะเวลานาน จนทำให้ไตทำงานหนักติดต่อกันตลอดเพื่อขับของเสียต่างๆ ออกจากร่างกาย นอกจากนี้อาจมีสาเหตุมาจากโรคอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคไตแทรกซ้อน เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง
ไตเรื้อรังไม่ว่าเกิดจากสาเหตุใด ในท้ายที่สุดจะทำให้เกิดภาวะยูรีเมีย (uremia) เหมือนกัน ซึ่งจะมีอาการ ซีด บวม อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผิวแห้ง คลื่นไส้ อาเจียน สะอึก ซึมลง ในบางรายที่มีอาการหนัก อาจทำให้มีอาการหัวใจวาย หรือเจ็บหน้าอกจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ถ้าไม่รักษาอาจชัก ซึมลง หมดสติและเสียชีวิตได้
ถึงแม้ว่าไตเรื้อรังรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้หรือชะลอไม่ให้เนื้อไตที่เหลืออยู่เสื่อมสภาพลงไปอีกได้ แต่เป็นที่น่าเสียใจว่าผู้ป่วยโรคไตบางคนละเลยการรักษา จนทำให้ไตวายอย่างรวดเร็วจนเสียชีวิต
การตรวจพบโรคไตและรักษาตั้งแต่ระยะแรก ร่วมกับการดูแลเอาใจใส่ตนเอง ปฏิบัติตนตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดมีความสำคัญมากในการป้องกัน
ไม่ให้ไตเสียมากขึ้น จนกลายเป็นไตวายในระยะสุดท้าย ซึ่งทำให้คุณภาพชีวิตลดลง ได้รับความทุกข์ทรมานมาก และสิ้นเปลืองในการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis) หรือโดยการล้างไตด้วยน้ำทางช่องท้อง (continuous ambulatory peritoneal dialysis, (CAPD) หรือการปลูกถ่ายไตในบางราย
รู้จักกินช่วยป้องกันไม่ให้ไตเสียมากขึ้น-การกินอาหารให้ถูกต้อง และเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ไตที่เหลืออยู่มีความสามารถในการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการชะลอไม่ให้เนื้อไตถูกทำลายมากขึ้นจนเข้าสู่ไตวายระยะสุดท้าย
อาหารประเภทโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ และถั่วต่างๆ เป็นกลุ่มอาหารที่คนเป็นโรคไตเรื้อรังที่ยังไม่ได้รับการรักษาโดยการฟอกเลือดต้องกินลดลง อาหารโปรตีนเมื่อกินเข้าไปแล้ว ร่างกายจะเผาผลาญให้เป็นหน่วยย่อยๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ แล้วจะเหลือสารประกอบสุดท้ายที่เป็นของเสีย จำพวกยูเรีย ครีอะตินีน ที่เป็นพิษต่อร่างกาย ซึ่งจำเป็นต้องขับออกโดยไต การกินอาหารโปรตีน จะทำให้ไตต้องทำงานหนัก และเกิดการเสื่อมสภาพมากขึ้นได้ง่าย
รายงานการศึกษาทางคลินิกพบว่า การลดอาหารโปรตีนลงจะทำให้อาการของโรคไตวายลดลงด้วย โดยทั่วไปผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังควรกินโปรตีนประมาณ ๓ ใน ๔ ของคนปกติกิน เช่น ถ้าปกติกินเนื้อสัตว์วันละ ๘-๑๐ ช้อนกินข้าว เมื่อเป็นโรคไตเรื้อรังต้องกินลดลงเหลือประมาณ ๖-๗ ช้อนกินข้าว หรืออาจจะต้องน้อยกว่านี้ถ้าไตมีการเสื่อมสภาพมากขึ้น การไปพบแพทย์และเจาะเลือดตรวจเป็นระยะๆ จะเป็นตัวช่วยบอกว่าควรจะกินอาหารโปรตีนมากหรือน้อยเพียงใด
เมื่อต้องควบคุมปริมาณโปรตีน ดังนั้นโปรตีนที่กินอย่างจำกัดนี้จึงควรเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง (high biological value) หมายถึงโปรตีนจำพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ เนื่องจากมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน ซึ่งดีกว่าโปรตีนจากพืชหรือถั่วต่างๆ ที่อาจมีการขาดกรดอะมิโนที่จำเป็นบางตัว ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้เต็มที่ และอาจเกิดการสูญเสียดุลไนโตรเจนได้ คนเป็นไตเรื้อรังบางรายที่ต้องลดปริมาณการกินเนื้อสัตว์ลงอย่างมาก เช่น น้อยกว่า ๓-๔ ช้อนกินข้าวต่อวัน แพทย์อาจจะสั่งให้กินกรดอะมิโนที่จำเป็นเสริมร่วมไปด้วย
แม้จะมีการจำกัดโปรตีนลง แต่ร่างกายยังต้องการพลังงานอย่างเพียงพอในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิต เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายสลายโปรตีนที่กินได้อย่างจำกัดนั้นมาเป็นแหล่งของพลังงาน คนเป็นโรคไตเรื้อรังจึงต้องกินอาหารพวกข้าวแป้งให้เพียงพอด้วย เพื่อให้ร่างกายดึงพลังงานจากส่วนนี้มาใช้
อย่างไรก็ตาม ควรเข้าใจว่าอาหารพวกข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ขนมปัง และผลิตภัณฑ์จากข้าวต่างๆ ถึงแม้ว่าเป็นแหล่งอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีส่วนประกอบของโปรตีนอยู่ด้วย ประมาณ ๒ กรัมต่อ ๑ ทัพพี ดังนั้น จึงต้องระวังไม่กินอาหารประเภทข้าวเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ เพราะอาจจะทำให้ได้โปรตีนมากเกินไป ยกเว้นอาหารพวกแป้งบางชนิดที่เกือบจะไม่มีโปรตีน ได้แก่ วุ้นเส้น ก๋วยเตี๋ยวเซี่ยงไฮ้ สาคู ลอดช่องสิงคโปร์ ซ่าหริ่ม รวมมิตร แป้งข้าวโพด แป้งมัน อาหารเหล่านี้สามารถกินได้โดยไม่ต้องคิดคำนวณปริมาณโปรตีน
นอกจากโปรตีนแล้วคนเป็นโรคไตเรื้อรังต้องระวังไม่กินอาหารที่มีโซเดียม โพแทสเซียม และฟอสฟอรัสสูง คนเป็นโรคไตเรื้อรังในระยะแรกที่ยังไม่มีปัญหาว่ามีโพแทสเซียม และ/หรือฟอสฟอรัสในเลือดสูงอาจไม่จำเป็นต้องควบคุมก็ได้ เพราะไตยังสามารถขับออกทางปัสสาวะได้ดีพอสมควร
อาหารที่มีโพแทสเซียมสูงที่ควรระวัง ได้แก่
ถั่วเมล็ดแห้ง โดยเฉพาะถั่วดำและถั่วปากอ้า
ผักที่มีสีเขียวเข้ม สีเหลืองเข้ม เช่น หน่อไม้ฝรั่ง บล็อกโคลี่ ดอกกะหล่ำ ใบคะน้า ขึ้นฉ่าย มะเขือเทศ แครอต (ผักที่มีโพแทสเซียมไม่สูงมากและกินได้ เช่น แตงกวา น้ำเต้า บวบ ฟักเขียว มะเขือยาว ถั่วฝักยาว ผักกาด)
ผลไม้ โดยเฉพาะผลไม้ที่มีสีเหลือง เช่น ส้ม กล้วย ทุเรียน มะม่วงสุก ขนุน มะขามหวาน และผลไม้แห้งทุกชนิด เช่น ลูกเกด ลูกพรุน
อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงที่ควรระวัง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่แดง นมสด เนยแข็ง เมล็ดพืช ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วลิสง ถั่วแดง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เป็นต้น
อาหารที่มีโซเดียมสูงที่ควรระวัง ได้แก่ อาหารที่มีรสเค็ม จากการใช้เครื่องปรุงรสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสหอยนางรม น้ำบูดู ซุปก้อน ผงปรุงรสต่างๆ คนที่มีปัญหาเรื่องไต ต้องระวังไม่ใส่เครื่องปรุงรสต่างๆ มากในขณะประกอบอาหาร โดยทั่วไปเติมเกลือได้ครึ่งช้อนชาต่อวัน หรือ เติมน้ำปลา ซีอิ๊วรวมกันได้ไม่เกิน ๓ ช้อนชาต่อวัน และต้องไม่เติมเครื่องปรุงรสเหล่านี้เพิ่มในระหว่างการกินอาหาร รวมทั้งต้องหลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารตากแห้ง อาหารว่างที่ออกรสเค็ม อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม หมูยอ หมูหยอง อาหารสำเร็จรูป จำพวกโจ๊ก บะหมี่ วุ้นเส้น และขนมขบเคี้ยวต่างๆ ทุกชนิด
คนเป็นไตเรื้อรังควรระวังไม่กินอาหารที่มีไขมันมากและอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูงด้วย จึงควรกินอาหารที่ปรุงด้วยวิธีการต้ม นึ่ง ย่าง มากกว่าวิธีการทอดหรือผัดที่ใส่น้ำมันมาก รวมทั้งหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสัตว์หรือมีกะทิมาก เพราะมีกรดไขมันอิ่มตัวสูง ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้นได้ง่าย ส่งผลให้หลอดเลือดต่างๆ เสื่อมได้ง่ายขึ้น
สำหรับเรื่องน้ำดื่ม ถ้ายังสามารถถ่ายปัสสาวะได้ตามปกติ และไม่มีอาการบวม ก็ไม่ต้องจำกัดปริมาณน้ำดื่ม ยังคงดื่มได้ ๖-๘ แก้วต่อวัน แต่ถ้ามีอาการบวม หรือเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ควรจำกัดน้ำดื่มลง โดยดื่มน้ำปริมาณเท่ากับปริมาณปัสสาวะต่อวันที่ขับออกมา นอกจากนี้ คนเป็นโรคไตเรื้อรังควรหลีกเลี่ยงการดื่ม ชา กาแฟ ช็อกโกแลต โคล่า เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้มีทั้งโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสในปริมาณค่อนข้างสูงด้วย
แนวทางการกินข้างต้นมีส่วนสำคัญในการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง และยังช่วยป้องกันหรือชะลอมิให้โรคไตเรื้อรังรุนแรงขึ้น อีกทั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมกระบวนการรักษาของแพทย์ด้วย
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ป่วยโรคไตเรื้อรังจำเป็นต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด กินยาอย่างสม่ำเสมอ พบแพทย์ตามนัด และหากเจ็บป่วยไม่ควรซื้อยากินเอง เนื่องจากยาบางชนิดส่งผลเสียต่อไตโดยตรงทำให้ไตเสื่อมยิ่งขึ้น
สำหรับอาหารผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาโดยการฟอกเลือดหรือล้างไตแล้ว โปรดติดตามฉบับหน้า

วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ไต เครื่องกรองน้ำประจำตัว

พญ.ลลิตา ธีระศิริ
เมื่อเลือดเอาอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายแล้วของเสียที่เกิดขึ้นจากการเผาผลาญอาหารในร่างกาย ก็จะซึมกลับเข้าสู่กระแสโลหิต เพื่อนำไปกำจัดทิ้งออกนอกร่างกาย กระบวนการกำจัดของเสียนี้เป็นหน้าที่ของไต ไตเปรียบเสมือนเครื่องกรองนํ้า กรองเอาสิ่งที่เป็นปฏิกูลในเลือดออก เก็บสารที่ยังจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อร่างกายให้เซลล์ร่างกายเอาไว้ใช้ สิ่งที่ไตกรองออก เช่น ยูเรีย เกลือส่วนเกิน และสารเคมีบางตัวที่ร่างกายไม่ต้องการใช้แล้ว ส่วนนํ้าตาล โปรตีน ไขมัน และแร่ธาตุบางอย่าง ไตจะเลือกเก็บเอาไว้ให้ร่างกายใช้ ของเสียที่ไตกรองออกมา จะถูกขับออกนอกร่างกายในรูปของเหลวกลิ่นฉุน ที่เรารู้จักกันดีว่าเป็นนํ้าปัสสาวะ
ไตมีรูปร่างคล้ายเม็ดถั่วเม็ดใหญ่ สีนํ้าตาล แดง ขนาดใหญ่กว่ากำปั้นของผู้เป็นเจ้าของเล็กน้อย ไตของแต่ละคนมีอยู่สองข้าง ตำแหน่งของไต คือ บริเวณใต้ชายโครง ไตอยู่สองข้างของกระดูกสันหลังในช่องเอว วางอยู่ด้านหน้าของกล้ามเนื้อส่วนหลัง
อวัยวะในช่องท้องทั้งหมด เช่น กระเพาะอาหาร ลำไส้ทั้งหมด ตับ ตับอ่อน เป็นต้น จะถูกห่อหุ้มโดยเยื่อบางๆ ใส แต่เหนียว ที่เรียกว่า เยื่อบุช่องท้อง ส่วนไตนั้นเป็นอวัยวะที่อยู่นอกเยื่อบุช่องท้องด้านหลัง ในทางการแพทย์จึงถือว่าไตนั้นอยู่นอกช่องท้อง เม็ดไตทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นที่ออกมาของท่อไต
ท่อไตทำหน้าที่ลำเลียงนํ้าปัสสาวะที่ออกจากไต ไปเก็บยังกระเพราะอาหารที่อยู่ส่วนกลาง ท่อไตจะพาดมาตามยาวขนานกับกระดูกสันหลังเข้าสู่ช่องเชิงกรานไปเปิดเข้าทางส่วนบนทางด้านข้างของกระเพาะปัสสาวะ
เมื่อผ่าไตออกมาดู จะเห็นว่าเนื้อไตนั้นยังมีสีแตกต่างกันให้เห็นชัด เป็นสองส่วน คือ เนื้อไตชั้นนอก กับเนื้อไตชั้นใน เนื้อไตชั้นนอกจะทำหน้าที่เป็นตะแกรงกรองเอาของเสียและเกลือส่วนเกินออกทิ้งไปกับนํ้าส่วนหนึ่ง ส่วนเนื้อไตชั้นใน เป็นชั้นที่ถัดเข้ามา มีหน้าที่ทำให้ปัสสาวะข้นขึ้น เมื่อนํ้าของเสียถูกปล่อยออกมานอกไตแล้ว ก็จะไหลรวมกันเทลงสู่ท่อไต คล้ายกับธารนํ้าเล็กๆ ที่ไหลรวมตัวกันลงสู่แม่นํ้าใหญ่และลงสู่ทะเลในที่สุด
ในแต่ละวัน ร่างกายของเราจะกลั่นนํ้าปัสสาวะออกมาได้ถึง 6 แก้ว แต่ถ้าเรากินนํ้าน้อยหรือเสียเหงื่อมาก เช่นในเวลาที่อากาศร้อนจัดๆ หรือเวลาที่เราตากแดด ไตจะไม่ปล่อยให้ร่างกายเสียนํ้าออกมาเป็นปัสสาวะ ปัสสาวะที่ออกมาก็จะมีปริมาณน้อยกว่านี้
ไตเป็นอวัยวะที่ทำงานได้อย่างชาญฉลาด เมื่อใดที่ร่างกายมีนํ้าล้นเกิน มีสารที่ร่างกายไม่ต้องการมากเกินปกติ ไตก็จะทำหน้าที่ขับส่วนที่ล้นเกินเหล่านี้ออกนอกร่างกาย ดังนั้นการตรวจปัสสาวะจึงช่วยในการวินิจฉัยโรคได้หลายอย่าง เช่นคนที่เป็นเบาหวานระดับนํ้าตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ไตจะขับเอานํ้าตาลส่วนเกินนี้ออกมาทางปัสสาวะ ทำให้เราตรวจพบได้และรู้ว่าคนคนนั้นเป็นโรคเบาหวาน ถ้าคนไหนมีอาการดีซ่าน ซึ่งหมายถึง ภาวะที่ร่างกายมีบิลิรูบินที่เกิดจากการแตกตัวของเม็ดเลือดมากกว่าปกติ ไตก็จะช่วยขับเอาสารบิลิรูบินนี้ออกนอกร่างกายไป ทำให้ปัสสาวะของคนที่มีอาการดังกล่าวมีสีเหลืองจัดกว่าปกติ สำหรับยาที่เรากินเข้าไปก็เช่นเดียวกัน ไตก็จะทำหน้าที่กำจัดสารเคมีจากยาออกนอกร่างกายไป
แต่ถ้าเมื่อใดที่ร่างกายมีนํ้าน้อยหรือกำลังจะขาดเกลือแร่ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ไตก็จะทำหน้าที่เก็บนํ้า กักเกลือเอาไว้ให้ร่างกายใช้ต่อไปโดยอัตโนมัติ เช่น เมื่อร่างกายเสียเลือดไปมากๆ โดยเฉียบพลันจำนวนนํ้าเลือดที่ไหลเวียนอยู่ในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว ไตก็จะหยุดขับนํ้าออกทันที ทำให้คนคนนั้นไม่มีปัสสาวะออกมาความจริงปัสสาวะในคนปกติเป็นของเหลวที่สะอาด ไม่มีเชื้อโรคกลิ่นประจำของปัสสาวะ คือ กลิ่นของยูเรีย ซึ่งเป็นสารที่แตกตัวออกมาจากโปรตีนที่เรากินเข้าไป เชื่อไหมว่าในอาฟริกาที่อยู่ในป่าลึก หรือในแถบเอสกิโมบางส่วน ชาวพื้นเมืองนิยมใช้ปัสสาวะเป็นยาฆ่าเชื้อ ล้างแผล ชาวจีนก็ใช้ปัสสาวะของเด็กอ่อนเป็นกระสายยา
กระเพาะปัสสาวะเป็นที่เก็บกักปัสสาวะ ก่อนที่จะปล่อยออกจากร่างกาย กระเพาะปัสสาวะเป็นเนื้อเยื่อที่ยืดหยุ่นได้ เมื่อนํ้าปัสสาวะถูกปล่อยออกไปหมดแล้ว กระเพาะปัสสาวะจะหดเล็กลง เมื่อใดที่นํ้าปัสสาวะไหลมาสะสมกันมากขึ้น กระเพาะปัสสาวะก็จะพองตัวออกตามปริมาณของปัสสาวะที่มีอยู่ กระเพาะปัสสาวะที่อยู่ในช่องเชิงกราน ใต้กระดูกหัวหน่าว ในผู้หญิงกระเพาะปัสสาวะจะอยู่ทางด้านหน้าของมดลูก
การปล่อยปัสสาวะออกไปนอกร่างกายนั้น ต้องอาศัยการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ และการทำงานของระบบประสาทปกติประสานกัน กล่าวคือ เมื่อใดที่กระเพาะปัสสาวะพองออกเต็มที่แล้ว เส้นประสาทอัตโนมัติก็จะรายงานให้สมองรับรู้ สมองก็จะสั่งงานออกมาตามเส้นประสาทรับความรู้สึก เราก็จะรู้สึกอึดอัดตึงในท้องน้อย และเกิดความรู้สึกอยากจะปัสสาวะ แต่เนื่องจากเรามีกล้ามเนื้อหูรูด และมีประสาทอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เรากลั้นปัสสาวะได้ เราจึงสามารถอดทนได้จนถึงสถานที่ที่เหมาะสมในการเปลื้องทุกข์ ในเด็กเล็กๆ การทำงานของประสาทส่วนนี้ยังไม่เจริญเต็มที่ จึงทำให้เด็กไม่สามารถบอกได้ว่ากระเพาะปัสสาวะเต็มแล้ว และเมื่อถึงเวลานั้น เด็กเล็กก็ไม่อาจจะกลั้นปัสสาวะอยู่ได้ ประสาทส่วนนี้จะทำงานได้อย่างเต็มที่ก็ต่อเมื่อเด็กอายุได้ 1 ปีครึ่งถึง 2 ปี ดังนั้นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะฝึกให้เด็กปัสสาวะก็คือ อายุเด็กต้องมากกว่า 1 ปีครึ่งขึ้นไป
เมื่อปัสสาวะออกมาจากกระเพาะปัสสาวะก็ต้องผ่านท่อปัสสาวะเสียก่อน จึงจะพ้นออกไปนอกร่างกายท่อปัสสาวะของผู้ชายอยู่ในลึงค์ ของผู้หญิงวางอยู่เหนือช่องคลอดและอยู่ข้างใต้ของคลิตอริส ท่อปัสสาวะของผู้ชายจึงมีความยาวกว่าของผู้หญิง ด้วยสาเหตุนี้เมื่อปัสสาวะออกมาจากกระเพาะปัสสาวะก็ต้องผ่านท่อปัสสาวะเสียก่อน จึงจะพ้นออกไปนอกร่างกายท่อปัสสาวะของผู้ชายอยู่ในลึงค์ ของผู้หญิงวางอยู่เหนือช่องคลอดและอยู่ข้างใต้ของคลิตอริส ท่อปัสสาวะของผู้ชายจึงมีความยาวกว่าของผู้หญิง ด้วยสาเหตุนี้เอง จึงทำให้อาการอักเสบของทางเดินปัสสาวะในผู้หญิงเป็นบ่อยกว่าผู้ชาย
ส่วนมากเชื้อโรคจะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะโดยการปนเปื้อนจากทวารหนัก ผ่านเข้ารูเปิดของท่อปัสสาวะ เข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการอักเสบ ถ้าทิ้งไว้ไม่รักษา เชื้อโรคก็จะไหลทวนท่อไตขึ้นไปสูงสู่ไตได้ การกลั้นปัสสาวะ จะทำให้แบคทีเรียที่เข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ มีเวลาแบ่งตัว และก่อให้เกิดอาการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ และนำไปสู่อาการอักเสบของไตได้
วิธีป้องกันอาการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ การรักษาความสะอาดบริเวณรูเปิดของท่อปัสสาวะ ในผู้หญิงยิ่งต้องสนใจเรื่องนี้มากกว่าผู้ชาย การชำระภายหลังจากการถ่ายหนัก ต้องชำระจากด้านหน้าไปหาด้านหลัง เพื่อป้องกันเชื่อโรคที่ติดมากับอุจจาระ เข้ามาแปดเปื้อนรูเปิดของปัสสาวะ นอกจากนี้ก็ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ และหากอาการของกระเพาะปัสสาวะอักเสบควรได้รับการรักษาโดยเร็วและอย่างถูกหลัก เพื่อป้องกันไม่ให้เชื่อโรคลามไปสู่ไตได้

ภาวะไตวาย

ไตเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย ช่วยในการกำจัดของเสียที่เป็นของเหลวออกมาเป็นปัสสาวะ เหงื่อและการระเหยจากการหายใจ ช่วยรักษาปริมาณน้ำในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล นอกจากนี้ยังมีหน้าที่อื่นๆอีก
-ดังนั้นถ้าเกิดความผิดปกติขึ้นกับไต ที่เรียกว่าภาวะไตวาย เป็นเหตุให้ไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ก็ย่อมมีผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกายก็ขอเชิญฟังคำอธิบายของ
รศ.นพ.วีระสิงห์ เมืองมั่น จากภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีนพ.วิชนารถ : ก่อนอื่นขอให้อ.ช่วยอธิบายถึงหน้าที่ของไตที่มีต่อร่างกาย
นพ.วีระสิงห์ : หน้าที่ของไตที่เห็นง่ายๆคือ กำจัดของเสียที่เป็นของเหลว รักษาปริมาณน้ำในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล รักษาระดับเกลือแร่ ความเป็นกรดเป็นด่าง ดูดซึมและเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และยังมีหน้าที่อื่นๆอีกมาก
นพ.วิชนารถ : แล้วที่เรียกว่าภาวะไตวายนี้เกิดอาการผิดปกติอย่างไรกับไต
นพ.วิชนารถ : เพราะสาเหตุใดจึงเกิดภาวะไตวายขึ้นได้
นพ.วีระสิงห์ : สาเหตุของไตวายมีดังนี้
1. การที่ร่างกายต้องเสียน้ำจากท้องเสียหรืออาเจียนมากๆ เมื่อเสียน้ำไปมากก็ไม่มีน้ำที่จะไปกรองไต ทำให้ไตไม่สามารถทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียได้ เกิดเป็นภาวะไตวาย
2. การเป็นโรคไตโดยตรง คือไตเองมีโรคหลายอย่าง เช่น โรคจากการอักเสบ โรคจากการติดเชื้อ โรคจากการมีภูมิต้านทานผิดปกติ จากการแพ้ จากการโดนสารพิษเป็นประจำจะทำให้ไตเสื่อมสภาพไป หรือแม้แต่บางคนที่เป็นมาลาเรียก็เกิดไตวายได้
3. มีการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะตั้งแต่ไตลงมาจนถึงกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ไตก็ไม่สามารถจะขับถ่ายน้ำได้เต็มที่
นพ.วิชนารถ : ผู้ป่วยจะทราบได้อย่างไรว่าเกิดภาวะไตวายขึ้น มีอาการเริ่มแรกอย่างไร
นพ.วีระสิงห์ : อาการเริ่มแรกที่พอจะบอกได้คือ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย รู้สึกปวดเมื่อยหลัง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ การผิดปกติในการถ่ายปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะมากไปหรือน้อยไป และมีอาการบวม หน้าตามีลักษณะของคนเป็นโรคไต คือหนังตาบวม ต่อไปเท้าบวม บางคนมีความดันโลหิตสูง
นพ.วิชนารถ : หลังจากผู้ป่วยเป็นไตวายไปสักระยะหนึ่งแล้วจะมีอาการอย่างไรแสดงออกมาอีก
นพ.วีระสิงห์ : จะมีอาการผิดปกติทางระบบปัสสาวะคือ ถ้าเป็นไตวายเฉียบพลัน จะปัสสาวะออกเป็นหยดหรือแค่ประมาณ 2 ถ้วยชา รวมแล้วไม่ถึง 1 แก้ว ส่วนภาวะไตวายชนิดเรื้อรัง มีปัสสาวะออกมาประมาณ 1-2 ลิตรต่อวัน แต่ปัสสาวะที่ออกมาจะใสมาก เนื่องจากเป็นปัสสาวะที่มีคุณภาพไม่ดีในคนปกติจะถ่ายปัสสาวะวันละประมาณ 1-1 ลิตรครึ่ง แต่ถ้าดื่มน้ำมากๆ ก็อาจจะเป็น 2-3 ลิตร และปัสสาวะที่ออกมาจะมีสารแร่ธาตุปน ทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้น มีสีเหลืองอ่อนๆ นอกจากนั้นผู้ป่วยยังมีอาการซึม อาจจะหอบ ความดันโลหิตสูง หัวใจวาย อาจมีอาการชัก หรืออาการหลงๆลืมๆ ความจำเสื่อม ความรู้สึกทางเพศเสื่อม แล้วแต่ว่าภาวะของโรคเป็นมากน้อยแค่ไหน
นพ.วิชนารถ : จากที่อ.อธิบายมารู้สึกว่าอาการของโรคนี้จะมีหลายอย่าง เมื่อเกิดเป็นไตวายขึ้นจะมีอันตรายมากน้อยเพียงใด
นพ.วีระสิงห์ : อันตรายขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น คนไข้เป็นโรคไตตั้งแต่เด็ก ก็จะเป็นไตอักเสบเรื้อรัง เมื่อเป็นผู้ใหญ่จะทำงานอะไรหนักหรือโลดโผนไม่ได้ในรายที่เป็นน้อยได้แก่ มีนิ่วไปอุดเมื่อไปผ่าตัดเอานิ่วออกแล้ว โรคไตวายก็ทุเลาไปส่วนในรายที่เป็นมากจนถึงขั้นไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ก็จะพบว่ามีสารเคมีในเลือดเพิ่มมากขึ้น คนไข้จะอ่อนเพลีย เพราะฉะนั้นอันตรายที่พบอาจจะเป็นได้ว่าคนไข้ป่วยมากจนกระทั่งไม่สามารถประกอบงานประจำวันได้
นพ.วิชนารถ : ไตที่มีอยู่ในร่างกายเรามี 2 อันคือด้านซ้ายและขวา เป็นไปได้ไหมที่ไตจะหยุดทำงานทีเดียวทั้งสองข้าง
นพ.วีระสิงห์ : ก็เป็นไปได้จากสาเหตุต่างๆ ในกรณีที่นิ่วไปอุดที่ท่อไตข้างหนึ่ง ไตข้างนั้นก็จะหยุดไปแต่ว่าอีกข้างหนึ่งก็จะทำงานต่อไปสักระยะหนึ่ง แต่ถ้าเผอิญคนนั้นเกิดเป็นนิ่วขึ้นอีกข้างหนึ่งไตก็จะหยุดไปอีกข้าง ความสามารถในการขับถ่ายไม่มี เกิดภาวะไตวายขึ้น
นพ.วิชนารถ : ถ้าเกิดมีภาวะไตวายขึ้นแล้ว แพทย์จะให้การรักษาอย่างไร
นพ.วีระสิงห์ : การรักษาโรคไตขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค คือ
1. พวกที่เป็นโรคไตเนื่องจากส่วนกรองเสียไปซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของคนไข้โรคไตขณะนี้ พบว่าการรักษาด้วยยาเป็นเพียงทำให้ทุเลาลง ต้องพยายามรักษาไตพวกนี้ไว้ เพราะถ้าเราไปทำงานหนักมากไตก็จะเสื่อมเร็วขึ้น
2.พวกที่มีนิ่วไปอุดตันก็สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดเอานิ่วออก
3. พวกที่ไตวายจากการรับสารพิษ (เช่น พวกช่างฟิตล้างคาบูเรเตอร์ของรถ) ชนิดหนึ่ง เรียกว่าคาร์บอนเตตะคลอไรด์ สารตัวนี้มีพิษทำอันตรายต่อไต แม้แต่สารที่เป็นโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว สารหนู ปรอทซึ่งอยู่ในอาหาร ยา เข้าสู่ไตมากๆ ก็ทำให้ไตวายได้ พวกนี้ต้องมีการหลีกเลี่ยงเพื่อรักษาไตไว้ให้นานที่สุด
นพ.วิชนารถ : การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ ทางที่ดีที่สุดก็คงจะเป็นการป้องกัน มีวิธีใดในการป้องกันโรคนี้ได้บ้าง
นพ.วีระสิงห์ : การป้องกันภาวะไตวายขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาสุขภาพเราเป็นสำคัญ หมั่นสังเกตตัวเองว่าขณะนี้การกิน การนอน การขับถ่ายของเราเป็นอย่างไรบ้างการป้องกันการเกิดนิ่วเราควรจะดื่มน้ำมากๆ วันหนึ่งควรดื่มน้ำประมาณ 7-8 แก้ว เพื่อให้มีการขับถ่ายน้ำปัสสาวะมากพอการกินอาหารก็ไม่ควรกินมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดสิ่งผิดปกติในร่างกายจากการขับถ่ายได้ และยาบางชนิดก่อนจะใช้ควรขอคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรการทำงานต่างๆ ก็ควรจะเลี่ยงสิ่งที่อาจทำให้ไตพิการได้ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือจะต้องคิดอยู่เสมอว่าเราจะทำอย่างไรที่จะป้องกันตัวเรา และควบคุมสิ่งที่จะเข้าสู่ร่างกายเราจากการสูดดมหายใจ จากการรับประทาน และจากการทำงาน

หน่วยไตอักเสบฉับพลัน

หน่วยไต (glomerulus) เป็นหน่วยเล็กๆ ที่กระจายอยู่ในเนื้อไต ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๑ ล้านหน่วยในไตแต่ละข้าง ทำหน้าที่กรองน้ำและของเสียออกมาเป็นปัสสาวะ หากเกิดการอักเสบ ร่างกายก็ขับปัสสาวะออกได้น้อย มีของเสียคั่งอยู่ในเลือด รวมทั้งมีเม็ดเลือดแดงและสารไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการบวมทั้งตัว และปัสสาวะออกมาเป็นสีแดง-โรคนี้พบได้บ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า ๕-๑๐ ขวบ มักพบหลังเป็นทอนซิลอักเสบ หรือแผลพุพองที่ผิวหนัง หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็มักจะหายได้เป็นส่วนใหญ่
► ชื่อภาษาไทย3 หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน
► ชื่อภาษาอังกฤษ3 Acute glomerulonephritis (AGN)
►จัดว่าเป็นโรคภูมิต้านตนเอง (autoimmune) ชนิดหนึ่ง ทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า หน่วยไตอักเสบเฉียบพลันหลังติดเชื
ส่วนใหญ่เกิดตามหลังการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า บีตาฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ (beta-hemolytic streptococcus group A) เช่น ทอนซิลอักเสบ แผลพุพอง ผิวหนังอักเสบ เป็นต้น เมื่อเกิดการติดเชื้อชนิดนี้ (ซึ่งมีอยู่หลายสายพันธุ์ย่อย) ร่างกายก็จะสร้างสารภูมิต้านทาน (แอนติบอดี) ซึ่งนอกจากทำลายเชื้อโรคชนิดนี้แล้ว ยังไปมีปฏิกิริยาต่อหน่วยไต ทำให้หน่วยไตอักเสบ จัดว่าเป็นโรคภูมิต้านตนเอง (autoimmune) ชนิดหนึ่ง ทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า หน่วยไตอักเสบเฉียบพลันหลังติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัส (poststreptococcal AGN) โรคนี้พบบ่อยในเด็กอายุ ๕-๑๐ ขวบ ซึ่งมักพบหลังติดเชื้อในคอ (ทอนซิลอักเสบ) ๑-๒ สัปดาห์ และหลังติดเชื้อที่ผิวหนัง ๓-๔ สัปดาห์ อาจพบได้ประมาณร้อยละ ๑๐-๑๕ ของเด็กที่ติดเชื้อดังกล่าวและไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง-นอกจากนี้ หน่วยไตอักเสบเฉียบพลันยังอาจเกิดร่วมกับโรคอื่น เช่น เอสแอลอี ซิฟิลิส การแพ้สารเคมี (เช่น ตะกั่ว) เป็นต้น

► อาการ3
ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ร่วมกับอาการบวมทั้งตัว (หนังตาบวม หน้าบวม ท้องบวม เท้าบวม ๒ ข้าง) และปัสสาวะออกมาเป็นสีแดงเหมือนน้ำล้างเนื้อหรือน้ำหมาก-ถ้าเป็นรุนแรง อาจมีอาการปัสสาวะออกน้อย หอบเหนื่อย หรือชักอาจมีประวัติว่ามีอาการเจ็บคอ (ทอนซิลอักเสบ) หรือเป็นแผลพุพอง หรือผิวหนังอักเสบมาก่อนสัก ๑-๔ สัปดาห์
► การแยกโรค
อาการบวมทั้งตัว อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น
♦ โรคไตเนโฟรติก (nephritic syndrome) ซึ่งเป็นโรคไตอักเสบชนิดหนึ่ง ที่ทำให้ร่างกายมีการสูญเสียโปรตีนออกมาทางปัสสาวะ เนื่องเพราะความผิดปกติของหน่วยไต ผู้ป่วยจะมีอาการบวมทั้งตัว แต่ปัสสาวะออกมากและไม่มีไข้
♦ ภาวะหัวใจล้มเหลว (congestive heart failure) ผู้ป่วยจะมีอาการเท้าบวม ๒ ข้าง และหายใจหอบเหนื่อย นอนราบ (หนุนหมอนใบเดียว) ไม่ได้เพราะรู้สึกแน่น อึดอัด หายใจลำบาก
♦ ภาวะขาดอาหาร เด็กที่ขาดอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีน จะมีอาการบวมทั้งตัว โดยที่ถ่ายปัสสาวะเป็นปกติส่วนปัสสาวะออกเป็นสีแดง อาจเกิดจากโรคนิ่วในไต หรือเนื้องอกในไต ซึ่งมักจะไม่มีอาการบวมหรือมีไข้ร่วมด้วย
► การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการบวมและปัสสาวะแดง ร่วมกับมีประวัติการติดเชื้อในคอหรือผิวหนังมาก่อน การตรวจร่างกายมักพบว่ามีไข้สูง ความดันเลือดสูง
-แพทย์จะยืนยันการวินิจฉัยโรคโดยการตรวจปัสสาวะ (พบเม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาวปริมาณมากกว่าปกติ และพบสารไข่ขาว) ตรวจเลือด (อาจพบสารบียูเอ็นและครีอะตินีนสูง ซึ่งบ่งบอกว่าไตขับของเสียไม่ได้เต็มที่)-บางรายอาจจำเป็นต้องถ่ายภาพไตด้วยรังสี (เอกซเรย์) หรืออัลตราซาวน
แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการบวมและปัสสาวะแดง ร่วมกับมีประวัติการติดเชื้อในคอหรือผิวหนังมาก่อน การตรวจร่างกายมักพบว่ามีไข้สูง ความดันเลือดสูง-แพทย์จะยืนยันการวินิจฉัยโรคโดยการตรวจปัสสาวะ (พบเม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาวปริมาณมากกว่าปกติ และพบสารไข่ขาว) ตรวจเลือด (อาจพบสารบียูเอ็นและครีอะตินีนสูง ซึ่งบ่งบอกว่าไตขับของเสียไม่ได้เต็มที่)-บางรายอาจจำเป็นต้องถ่ายภาพไตด้วยรังสี (เอกซเรย์) หรืออัลตราซาวนด์ หรือทำการตรวจชิ้นเนื้อไต
► การดูแลตนเอง
เมื่อพบว่ามีอาการบวม หรือปัสสาวะสีแดง ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด3 หากพบว่าเป็นหน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน ก็ควรรับการรักษาตามคำแนะนำของแพทย์จนกว่าจะหายขาด
ในรายที่มีอาการบวม หรือความดันเลือดสูง ก็ควรงดอาหารเค็ม
► การรักษา3 แพทย์มักจะรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล และให้ยารักษาตามภาวะที่พบ เช่น
♦ ถ้ามีประวัติการติดเชื้อในคอหรือผิวหนัง ก็จะให้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ เพนิซิลลินวี หรืออีริโทรไมซิน
♦ ให้ยาขับปัสสาวะ ลดบวม
♦ ให้ยาลดความดัน ถ้าพบว่ามีความดันเลือดสูง
♦ ให้ยาแก้ชัก ในรายที่มีอาการชัก
♦ ทำการล้างไต (dialysis) ในรายที่มีภาวะไตวายรุนแรง

► ภาวะแทรกซ้อน
ในรายที่มีความดันเลือดสูงรุนแรง อาจเกิดอาการทางสมอง เช่น ชัก ไม่ค่อยรู้สึกตัวบางรายอาจพบภาวะปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ทำให้มีอาการหายใจหอบเหนื่อยบางรายอาจมีภาวะไตวายเฉียบพลัน หรือไตวายเรื้อรังตามมาได้
► การดำเนินโรค
หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ส่วนใหญ่จะหายได้ อาการทั่วไปจะดีขึ้นภายใน ๒-๓ สัปดาห์ แต่ควรตรวจปัสสาวะบ่อยๆ ต่อไปอีกหลายเดือน-ประมาณร้อยละ ๒ อาจกลายเป็นหน่วยไตอักเสบเรื้อรังในรายที่เป็นรุนแรง หรือไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน ประมาณร้อยละ ๒ อาจเสียชีวิตได้
บางรายแม้ว่าอาการจะหายดีแล้ว เมื่ออายุมากขึ้น อาจกลายเป็นโรคความดันเลือดสูง หรือเกิดภาวะไตวายเรื้อรังได้
► การป้องกัน-สำหรับหน่วยไตอักเสบเฉียบพลันหลังติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัส สามารถป้องกันได้ โดยการรักษาโรคติดเชื้อในคอ (ทอนซิลอักเสบ) หรือผิวหนัง (แผลพุพอง ผิวหนังอักเสบ) ด้วยยาปฏิชีวนะให้ครบตามกำหนด เช่น ให้เพนิซิลลินวี อะม็อกซีซิลลิน หรืออีริโทรไมซิน นาน ๑๐ วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กอายุ ๕-๑๐ ขวบ
► ความชุก
หน่วยไตอักเสบเฉียบพลันหลังติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัส พบได้บ่อยในเด็กอายุ ๕-๑๐ ขวบ

ปัจจัยเสี่ยง,การใช้ยาของผู้ป่วยโรคไต

ปัจจัยเสี่ยงของโรคไต ภก.ดร.วิรัตน์ ทองรอด
การใช้ยาของผู้ป่วยโรคไต
ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ควรเฝ้าระวังและเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ไตทำงานผิดปกติ สามารถจัดตามสาเหตุได้เป็นกลุ่มๆ ดังนี้
1. โรคต่างๆ ที่เป็นต้นเหตุให้เกิดการทำลายไต เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง โรคผิดปกติของภูมิคุ้มกันตนเอง โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคนิ่วในไต โรคติดเชื้อในกระแสโลหิต เป็นต้น
2. ลักษณะเฉพาะของบุคคล อันได้แก่ อายุที่มากขึ้น และประวัติของคนในครอบครัวที่เคยเป็นโรคไต
3. พฤติกรรมสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ คนที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย เป็นต้น
4. การใช้ยาที่มีอันตรายต่อไตในที่นี้ขอขยายความเรื่องโรคที่เป็นต้นเหตุของโรคไต และยาที่มีอันตรายต่อไต

ยาที่มีอันตรายต่อไต
ยาที่มีผลต่อไต ได้แก่ ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (หรือ NSAIDs) ยาปฏิชีวนะ ยาลิเทียม สมุนไพร เป็นต้น ซึ่งยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนกลัยโคไซด์ และยาลิเทียม เป็นยาสั่งจ่ายโดยแพทย์หรืออยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์จึงขอไม่กล่าวถึงในที่นี้ แต่จะกล่าวถึงยา NSAIDs (อ่านว่า "เอ็นเสด") ซึ่งมีการใช้กันอย่างกว้างขวาง
ยา NSAIDs ประกอบด้วย ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์กลุ่มเก่า และยากลุ่มค็อกทูอินฮิบิเตอร์ (COX II inhibitors) ซึ่งมีฤทธิ์แก้ปวด ลดไข้ ลดการอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆ ได้ดี จึงมีการนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายกรณีที่มีอาการปวดหัว ปวดเมื่อยเนื้อเมื่อยตัว ปวดข้อ ปวดฟัน ใช้ลดไข้แก้ตัวร้อน และใช้ลดการอักเสบ บวม แดง ร้อน จากการอักเสบของข้อ และกล้ามเนื้อต่างๆ
ยากลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้รักษาตามอาการ หมายความว่าถ้ามีอาการก็ให้ใช้ยา และเมื่อหายดีแล้วหรืออาการทุเลาลงแล้วก็ขอให้หยุดยา ไม่จำเป็นต้องใช้ติดต่อกันจนหมด เพราะยากลุ่มนี้จะส่งผลลดเลือดไปเลี้ยงที่ไต และส่งผลต่อการทำงานของไตได้
อีกปัญหาหนึ่งที่พบเกี่ยวกับยานี้คือ เรื่องความซ้ำซ้อนของการได้ยา เช่น ผู้ป่วยปวดข้อไปหาหมอคนที่หนึ่ง ก็จะได้ยากลุ่มนี้อยู่แล้ว ถ้ามีอาการไข้หวัดและไปหาหมอคนที่ 2 ก็อาจได้ยาลดไข้ แก้ตัวร้อน แก้ปวดหัว ซึ่งก็เป็นยากลุ่มนี้เช่นกัน เมื่อได้ใช้ยาของแพทย์ทั้ง 2 คน ก็จะเกิดการซ้ำซ้อนของการใช้ยา เป็นการเพิ่มพิษของยาที่มีต่อไตให้มากขึ้นได้
นอกจากผลเสียของยา NSAIDs ที่มีต่อไตแล้ว ยานี้เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้บ่อยอีกด้วย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ

การใช้ยาของผู้ป่วยโรคไต
ตั้งแต่ต้นจะพูดถึงการหลีกเลี่ยงการทำลายไต ลดปัจจัยเสี่ยงจากโรคและยาที่จะมีผลต่อไตได้ และต่อไปจะกล่าวถึงการใช้ยาของผู้ป่วยโรคไต
ยาส่วนใหญ่ขับออกจากร่างกายทางไต
ส่วนใหญ่ของยาที่เข้าสู่ร่างกายจะถูกขับหรือกำจัดออกจากร่างกายทางไต ส่วนใหญ่ ขับทิ้งออกมาพร้อมกับน้ำปัสสาวะประมาณว่า ร้อยละ 80-90 ของยาทุกชนิดที่มีใช้กันอยู่บนโลกนี้จะถูกขับทางไต ส่วนที่เหลืออีกเล็กๆ น้อยๆ จะถูกขับออกทางอุจจาระหรือปอด
การที่ยาถูกขับออกทางปัสสาวะนี้ เป็นผลให้ระดับของยาในร่างกายลดต่ำลง และหมดฤทธิ์ของยาลงด้วย
ผู้ป่วยโรคไต จะใช้ยาเหมือนผู้ป่วยทั่วๆ ไปไม่ได้
ถ้าผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องไต ไตเสื่อม หรือไตทำงานได้ลดน้อยลง ปริมาณยาที่อยู่ในร่างกายก็จะถูกขับทิ้งได้น้อยลง เป็นผลให้ยาอยู่ในร่างกายได้นานยิ่งขึ้น และ/หรือมีปริมาณสูงขึ้น
ถ้าผู้ป่วยโรคไตได้รับยาขนาดเดียวกันกับผู้ป่วยที่ไตทำงานปกติ ก็จะส่งให้ระดับยาสะสมอยู่ในร่างกายนานขึ้น และ/หรือระดับสูงขึ้น จนอาจทำให้เกิดพิษ เป็นอันตรายกับผู้ป่วย และอาจถึงแก่ชีวิตได้

ผู้ป่วยโรคไต ห้ามซื้อยากินเอง
ผู้ป่วยโรคไตจะใช้ยาเหมือนผู้ป่วยทั่วๆ ไปไม่ได้ เพราะแพทย์มีการปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับระดับการทำงานของไต ทั้งนี้เพื่อคงผลการรักษาที่ดี พร้อมทั้งผดุงความปลอดภัยให้กับผู้ป่วยโรคไต
ดังนั้น ก่อนใช้ยาเพิ่มเติม ผู้ป่วยโรคไตจึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อจะได้แนะนำการใช้ยาอย่างเหมาะสม ไม่เกิดอันตรายเพิ่มเติมกับไต และได้ยาขนาดที่เหมาะสมกับภาวะการทำงานของไตแต่ละคน

ไตอักเสบ/กรวยไตอักเสบ

เรื่องโรคไตอักเสบเกิดจากอะไร รักษาอย่างไร-น.ท.นพ.จักรพงศ์ ไพบูลย์ : ผู้ตอบ
ไตอักเสบแบ่งเป็น 2 แบบครับ
1. แบบแรก เกิดจากการติดเชื้อโรค จะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่น และบางคนปวดหลัง
สังเกตว่าโรคนี้ต้องมีอาการร่วมกันหลายอย่าง ถ้าปวดหลังอย่างเดียวจะไม่ใช่โรคนี้ รักษาได้ด้วยการให้ยาแก้อักเสบกินประมาณ 14 วันก็หาย สาเหตุของโรคนี้คือ อาจเป็นเองหรือเกิดจากมีนิ่วไปอุดตันท่อปัสสาวะถ้ามีนิ่วอาจต้องเอานิ่วออกด้วยการผ่าตัด หรือใช้คลื่นน้ำ ไม่เช่นนั้นอาจเป็นซ้ำได้
2. แบบที่สอง จากโรคตระกูลภูมิต้านทานแบบนี้ไม่ทราบสาเหตุแน่นอน มีอีกหลายชนิด อาการ-มักบวมตามขา เท้า หรือหน้าตาบวม ปัสสาวะมีฟองมาก คือมีโปรตีนหรือไข่ขาวมาก อาจมีเม็ดเลือดแดงปน อาจเป็นน้ำล้างเนื้อ โรคตระกูลนี้ต้องให้ยานาน อาจเป็นปี อาจเป็นซ้ำได้บ่อย ๆ บางทีรักษาด้วยยาชนิดหนึ่งไม่ได้ผล
การวินิจฉัย
อาจต้องเจาะไตดูว่าเป็นไตอักเสบชนิดใดกันแน่ เพราะตระกูลนี้แบ่งออกได้อีกหลายชนิด บางชนิดต้องใช้ยาพิเศษ และจัดเป็นโรคเวรกรรมอย่างหนึ่ง เพราะหายช้า บางคนหายขาด บางคนก็ไม่หายขาด แต่การรักษาทำให้ดีขึ้นได้แน่นอนครับ

ไตอักเสบมีกี่ชนิด ป้องกันได้อย่างไร ไตอักเสบกับกรวยไตอักเสบเหมือนกันหรือไม่-นพ. พรเทพ วรวงศ์ประภา : ผู้ตอบ
ไตอักเสบนั้นแบ่งเป็นชนิดใหญ่ ๆ คือ เนื้อไตอักเสบ และกรวยไตอักเสบครับ
-กรวยไตอักเสบนั้นส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งอาจลุกลามมาจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาจติดเชื้อลุกลามมาทางเลือดก็ได้ การป้องกันนั้นทำได้โดยระวังไม่ให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบง่าย โดยเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะไว้นาน ๆ โดยเฉพาะในเพศหญิง ซึ่งจะทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ง่าย
-ส่วนเนื้อไตอักเสบนั้น มีสาเหตุมากมาย ทั้งเป็นทางอ้อมจากการติดเชื้อที่อื่น ๆ หรืออาจเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันซึ่งกลับมาทำลายไตเอง เนื่องจากมีสาเหตุโดยโรคบางโรค (ซึ่งมีมากมาย) อีกส่วนหนึ่งจะเป็นผลเนื่องจากยาบางชนิด ในกลุ่มนี้จึงป้องกันได้บ้าง โดยหลีกเลี่ยงการใช้ยาโดยไม่จำเป็นครับ

นิ่วท่อใต นิ่วในท่อใต♦ ชื่อภาษาอังกฤษ Ureteric stone, Ureteral stone

นิ่วในท่อใต
♦ ชื่อภาษาอังกฤษ Ureteric stone, Ureteral stone รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
♦ สาเหตุ
นิ่วท่อไตเป็นนิ่วขนาดเล็กที่เกิดขึ้นในไต แล้วตกผ่านลงมาในท่อไต เป็นเหตุให้ท่อไตเกิดการบีบรัดตัว เพื่อขับก้อนนิ่วให้หลุดออกมา ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องรุนแรง-ส่วนสาเหตุของการเกิดนิ่วในไตนั้น เชื่อว่ามีปัจจัยร่วมกันหลายอย่างด้วย เช่น การกินอาหารที่มีสารแคลเซียม กรดยูริก (มีมากในเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ยอดผัก พืชหน่ออ่อน) และสารออกซาเลต (มีมากในผักต่างๆ) อย่างเสียสมดุล การเสียเหงื่อและดื่มน้ำน้อย การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และความผิดปกติทางโครงสร้างของไต เป็นต้น
♦ อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องรุนแรง โดยมีลักษณะปวดบิดเป็นพักๆ (คล้ายอาการปวดท้องแบบท้องเดิน) ตรงบริเวณท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่งเพียงข้างเดียว มักจะปวดนานเป็นชั่วโมงๆ หรือเป็นวันๆ
ลักษณะเฉพาะของโรคนี้คือ จะมีอาการปวดร้าวไปที่หลังและต้นขาด้านใน (ปวดไปที่อัณฑะหรือช่องคลอด) ข้างเดียวกับท้องน้อยที่ปวด-บางคนอาจปวดมากจนดิ้นไปมา หรืออาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก ตัวเย็นร่วมด้วย ผู้ป่วยจะไม่มีอาการขัดเบา หรือถ่ายปัสสาวะกะปริดกะปรอย ปัสสาวะมักจะออกได้มากและใส ไม่ขุ่น ไม่แดง เวลาใช้มือกดหรือใช้กำปั้นทุบเบาๆ ตรงบริเวณท้องน้อยที่ปวดจะไม่มีอาการเจ็บและมักจะไม่มีอาการเป็นไข้
♦ การแยกโรค
อาการปวดตรงท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่ง อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ที่สำคัญได้แก่
ไส้ติ่งอักเสบ มักมีอาการปวดตรงท้องน้อยข้างขวานานเกิน 6 ชั่วโมง เวลาขยับตัวหรือมีการกระเทือนถูก (เช่น เดินแรงๆ) หรือใช้มือกดถูกบริเวณนั้น จะมีอาการเจ็บมาก มักมีอาการคลื่นไส้ และมีไข้ต่ำๆ ร่วมด้วย
ปีกมดลูกอักเสบ มักมีอาการปวดตรงท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่งอย่างต่อเนื่อง ใช้มือกดถูกเจ็บ และมีไข้สูงร่วมด้วย
♦ การวินิจฉัยแพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการแสดง คือปวดท้องน้อยแบบปวดบิดๆ เป็นพักๆ และปวดร้าวไปที่หลังและต้นขาด้านในในการวินิจฉัยให้แน่ชัด แพทย์จะทำการตรวจปัสสาวะ (พบมีเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะจำนวนมากกว่าปกติ) เอกซเรย์ อัลตราซาวนด์ หรือใช้กล้องส่องตรวจท่อไตพบก้อนนิ่วคาอยู่ในท่อไต
♦ การดูแลตนเอง
หากมีอาการปวดท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่ง ที่มีลักษณะปวดรุนแรง ปวดนานเกิน 6 ชั่วโมง มีไข้หรือใช้มือกดถูกเจ็บ ก็ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าปวดที่ท้องน้อยข้างขวาซึ่งน่าสงสัยว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ-ถ้าแพทย์ตรวจพบว่าเป็นนิ่วท่อไต ผู้ป่วยควรกินยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และเฝ้าสังเกตว่ามีก้อนนิ่วหลุดออกมาทางปัสสาวะหรือไม่ โดยการถ่ายปัสสาวะลงในกระโถน เมื่อนิ่วหลุดออกมาและไม่มีอาการปวดท้องกำเริบอีก ก็แสดงว่าหายดีแล้ว แต่ถ้าก้อนนิ่วไม่หลุดและมีอาการปวดท้องกำเริบอีก ก็ควรกลับไปพบแพทย์
♦ การรักษา
แพทย์จะให้ยาบรรเทาอาการปวดท้อง ได้แก่ ยาต้านการเกร็งของท่อไต (แอนติสปาสโมดิก) เช่น ไฮออสซีน (hyoscine) ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ เช่น ไดโคลฟีแนก-ถ้าปวดรุนแรง เบื้องต้นแพทย์อาจใช้ยาชนิดฉีด แล้วจึงค่อยให้ยากลับไปกินต่อที่บ้านแพทย์จะนัดติดตามดูผลการรักษาภายใน 1-2 สัปดาห์ ถ้านิ่วหลุดออกมาทางปัสสาวะ ก็ถือว่าหายดีแล้วแต่ถ้านิ่วไม่หลุด และยังมีอาการปวดท้องกำเริบอีกก็แสดงว่าอาจเป็นนิ่วขนาดใหญ่คาอยู่ในท่อไต แพทย์อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด หรือใช้เครื่องสลายนิ่วบดนิ่วให้เป็นผงไหลออกมากับน้ำปัสสาวะ
♦ ภาวะแทรกซ้อน
ถ้านิ่วก้อนใหญ่หลุดออกเองไม่ได้ ปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ และไตวายได้
♦ การดำเนินโรค
ถ้าเป็นนิ่วท่อไตขนาดเล็ก มักจะหลุดออกมาทางปัสสาวะได้เอง ภายใน 1-2 สัปดาห์ถ้าเป็นก้อนนิ่วขนาดใหญ่ ก็มักจะคาอยู่ในท่อไตจนกว่าจะได้รับการผ่าตัดหรือการสลายนิ่ว จึงจะหายขาดได้
♦ การป้องกัน
ผู้ที่เคยเป็นนิ่วท่อไตมาครั้งหนึ่งแล้ว แม้ว่าจะรักษาจนหายดีแล้ว ในระยะต่อมา (เป็นแรมปีหรือหลายๆ ปีต่อมา) ก็อาจมีก้อนนิ่วเกิดขึ้นได้ใหม่ ควรป้องกันไม่ให้เป็นซ้ำโดยการดื่มน้ำให้มากๆ (วันละ 8-12แก้ว) เป็นประจำ อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ (ปัสสาวะออกน้อยและเป็นสีน้ำชา) เพื่อป้องกันการตกตะกอนของสารต่างๆ จนเป็นก้อนนิ่ว
ควรปรับลดอาหารที่มีสารออกซาเลตสูงหรือกรดยูริกสูง ระหว่างการกินเนื้อสัตว์และพืชผักให้เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์
♦ ความชุก
โรคนี้พบบ่อยในวัยกลางคน และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ไตวายเรื้อรังป้องกันได้

โรคไต ไตวายเรื้อรังป้องกันได้ ธนนท์ ศุข
ไตสำคัญกับร่างกายอย่างไร"ไต" มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว ขนาดเท่ากำปั้นคนปกติ มี ๒ ข้าง อยู่ด้านหลังช่องท้องข้างละ ๑ อัน ไตทำหน้าที่เกี่ยวกับการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ผ่านทางปัสสาวะ รักษาสมดุลของน้ำ เกลือแร่ และสมดุลกรด-ด่างในร่างกาย สร้างฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมสมดุล แคลเซียม และฟอสเฟต (คือ วิตามินดี นั่นเอง) และฮอร์โมนกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง
ไตเสื่อมตามธรรมชาติเป็นอย่างไร
ปกติไตของเราจะเริ่มถดถอยเสื่อมตามธรรมชาติได้ร้อยละ ๑ ต่อปี นับตั้งแต่อายุ ๓๕ ปีเป็นต้นไป ถือว่าเป็นโรคหรือไม่ ตอบว่าไม่เป็นโรค แต่เป็นการเสื่อมตามวัยเวลามองโรคไตเสื่อมไม่ได้หมายความว่า ไตทั้งอันเสื่อม แต่หน่วยเล็กๆบางส่วนเริ่มเสื่อม บางส่วนอาจจะเสื่อมนิดหน่อย บางส่วนเสื่อมสภาพไปเลย แต่ว่าสภาพการทำงานของไต ทั้งหมดยังพอใช้ได้ ปกติคนอายุ ๘๐ ปี สภาพการทำงานของไตจะลดลงเหลือประมาณครึ่งหนึ่ง รวมทั้งอวัยวะอื่นๆก็เสื่อมไปตามวัยด้วยเช่นกัน การเสื่อมของไต ไม่ใช่เสื่อมเพียงข้างเดียว และมีอีกข้างหนึ่งดี แต่จะเสื่อมไปพร้อมๆกันทั้ง ๒ ข้าง คนเรามีไตอยู่ ๒ ข้าง ถ้าไตบกพร่องไป หรือถูกตัดไปข้างหนึ่ง ไตข้างที่เหลือ ยังพอทำหน้าที่แทนได้ ดีต่อเมื่อไตเสียไป ๒ ข้าง แล้วจึงมีอาการของโรคไตวายเรื้อรังตามมา

โรคไตเรื้อรังมีสาเหตุหลักๆมาจากอะไร
กลุ่มคนที่เสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคไตเสื่อมหรือไตวายเรื้อรัง ได้แก่
๑. ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง เช่น
โรคติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะซ้ำซาก
โรคนิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะ
โรคไตเป็นถุงน้ำซึ่งสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
โรคไตอื่นๆ
๒. ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังที่มีผลกระทบต่อการทำงานของไต เช่น
โรคเบาหวาน
โรคความดันสูง
โรคเกาต์-
โรค เอส แอล อี (SLE)
๓. ผู้ที่กินยาบางชนิด (เช่น เฟนาซิติน เฟนิลบิวทาโซน ลิเทียมไซโคสปอรีน)หรือได้รับการสัมผัสสารเคมีบางชนิด (เช่น สารตะกั่ว แคดเมียม) ติดต่อกันเป็นเวลานาน
๔. ผู้ที่มีอายุมากกว่า ๖๐ ปี เพราะไตเสื่อมสภาพลงตามอายุ

โรคใดเป็นสาเหตุหลักที่โดดเด่นมาก
สาเหตุหลักของโรคไตวาย คือ เบาหวาน และความดันเลือดสูง โรคความดันเลือดสูง พบได้ ร้อยละ ๕ - ๑๐ (โอกาสเกิดโรคจะสูงขึ้นตามอายุ คือ ตั้งแต่ ๓๕ ปีขึ้นไป) ถ้าคำนวณจากคนไทย ๖๐ ล้านคน จะมีผู้ป่วยความดันสูง ๓-๖ ล้านคน ผู้ป่วยความดันสูง ร้อยละ ๑๐ จะมีโรคไตวายแทรกซ้อน คือ ๓๐๐,๐๐๐-๖๐๐,๐๐๐ คน
โรคเบาหวาน พบได้ร้อยละ ๔ ถ้าคำนวณจากคนไทย ๖๐ ล้านคน จะมีผูป่วยเบาหวานทั้งสิ้น ๒.๔ ล้านคน ผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ ๓๐ จะมีโรคไตเรื้อรังแทรกซ้อน คือ ๗๒๐,๐๐๐ คน ดังนั้นเมื่อรวมตัวเลข คาดว่าจะมีผู้ที่เป็นโรคไตวายจากทั้ง ๒ โรคนี้ สูงถึง ๑ ล้านคน มีข้อเท็จจริงประการหนึ่ง คือ โอกาสที่คนไทยจะเป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายนั้น สูงถึง ๑,๐๐๐ คน ต่อประชากร ๑ ล้านคน โดยเฉพาะคนที่มีอายุมากกว่า ๕๐ ปี และมีโรคประจำตัว อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเรียกได้ว่า โรคไตเรื้อรังใกล้ชิดกับคนไทยมาก

อยู่กับโรคไตให้ปลอดภัย
หลังจากได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอัตราการเสื่อมหน้าที่ของไตแตกต่างกันไป บางรายการเสื่อมของไตเกิดขึ้นอย่างช้าๆนานหลายปีบางรายอาจมีการเสื่อมของไตอย่างรวดเร็วจนต้องเข้ารับการรักษาโดยการบำบัดทดแทนไตในเวลาน้อยกว่า ๑ ปี ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การดำเนินของโรคไตเรื้อรังเลวร้าย ได้แก่
๑. ชนิดของไตที่เป็นสาเหตุนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของการดำเนินโรคของไตเรื้อรัง เพราะโรคไตเรื้อรังบางอย่างอาจมีการดำเนินของโรคอย่างช้าๆ เช่น โรคไตที่เกิดจากถุงน้ำในไตหรือโรคเนื้อเยื่อไตและหลอดไตฝอยอักเสบเรื้อรัง ในทางตรงกันข้าม
๒. ความดันเลือดสูง-ภาวะความดันสูง เป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้ไตเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว การควบคุมความดันเลือดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจึงสำคัญที่สุดที่จะช่วยชะลอการเสื่อมของไตความดันเลือดควรอยู่ในระดับประมาณ ๑๑๐-๑๒๕/๗๐-๗๕ มม.ปรอท นอกจากนี้ การกินยาลดความดันเลือดบางชนิดอาจช่วยชะลอการเสื่อมของไตได้ดี ดังนั้นการกินยาลดความดันเลือดอย่างสม่ำเสมอจึงมีความสำคัญต่อการชะลอความเสื่อมของไตเรื้อรังได้
๓. ๓. ระดับโปรตีนในปัสสาวะ
ปัจจุบันพบว่า การปล่อยให้ระดับโปรตีนในปัสสาวะสูงเป็นเวลานานๆ เป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้ไตเสื่อมหน้าที่เร็วกว่าที่ควร ยิ่งมีโปรตีนรั่วทางปัสสาวะมาก ไตยิ่งเสื่อมเร็วขึ้น
๔. การกินอาหาร
การกินอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ถั่ว เป็นต้น ในปริมาณมากต่อวัน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ไตเสื่อมลงได้เร็ว แต่ในทางกลับกัน การได้กินอาหารโปรตีนต่ำเกินไป อาจทำให้ผู้ป่วยไตเรื้อรังขาดอาหารได้ และร่างกายอยู่ในสภาพขาดอาหาร โดยทั่วไป ผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะกินสารอาหารโปรตีนเกินเกณฑ์ขั้นต่ำอยู่แล้ว (มีแต่จะมากเกิน การจำกัดจนถึงระดับขาดสารอาหารหมักไม่เกิดขึ้น)
๕. การกินยา
ยาที่แพทย์สั่งให้ผู้ป่วยไตเรื้อรังมีหลายชนิด บางชนิดช่วยให้ไตเสื่อมช้าลง ผู้ป่วยควรกินตามแพทย์สั่งสม่ำเสมอ ควรหลีกเลี่ยงการซื้อยามากินเอง เพราะมียาอีกหลายชนิดที่อาจทำให้การทำงานของไตเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนกินยาใหม่

๖. การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย-นอกจากการรักษาโรคที่เป็นสาเหตุของไตเรื้อรัง การกินยาและอาหารที่เหมาะสมแล้ว การงดสูบบุหรี่ก็เป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง พบว่า ผู้ป่วยไตเรื้อรังที่สูบบุหรี่มีการเสื่อมของไตเร็วกว่าผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ไม่สูบบุหรี่ นอกจากนั้น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การมีสุขภาพจิตที่ดีถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ
การรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
ผู้ป่วยสามารถเลือกวิธีการรักษาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งตามความต้องการและเหมาะสม ผู้ป่วยที่อายุน้อยและไม่มีโรคอื่นร่วมด้วยจะรักษาด้วยวิธีใดก็ได้ผลดีทั้งสิ้นผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือผู้ที่หลอดเลือดแข็งตัวและตีบตัน เช่น จากโรคเบาหวาน หรือโรคความดันเลือดสูง เป็นต้น ควรรักษาด้วยวิธีการขจัดของเสียทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องจะดีกว่าการฟอกเลือด แต่จะต้องพิจารณาเป็นรายๆ การจะเลือกใช้วิธีใดนั้น แพทย์จะแนะนำวิธีที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากอายุ โรคพื้นฐาน ลักษณะหลอดเลือด บุคลิก และสภาพจิตใจ

๑. การรักษาด้วยยา และการควบคุมอาหารและน้ำ-หากจำกัดอาหารโปรตีนตั้งแต่ระยะต้นๆ จะช่วยชะลอความเสื่อมของไตได้ด้วย แต่เมื่อผู้ป่วยมีการดำเนินของโรคไตมาถึงระยะท้ายของโรค วิธีนี้จะไม่ได้ผล แต่อาจทำให้อาการต่างๆของดรคน้อยลง หรือบางครั้งอาการอาจหายไประยะหนึ่งได้
๒. การขจัดของเสียทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง-เป็นวิธีการรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายวิธีหนึ่ง หลังจากได้รับการฝึกสอนจากแพทย์และพยาบาลเป็นเวลา ๑-๔ สัปดาห์แล้วผู้ป่วยสามารถกลับไปทำได้เองที่บ้าน ค่าใช้จ่ายในการขจัดของเสียทางช่องท้อง(รวมค่าน้ำยา) วันละประมาณ ๑,๐๐๐ บาท ทำทุกวันไปตลอด ในขณะที่ได้รับการรักษาผู้ป่วยสามารถทำงานและปฏิบัติภารกิจได้ปกติ
๓. การฟอกเลือด (การทำไตเทียม)-การฟอกเลือดเป็นการบำบัดรักษาทดแทนการทำงานของไตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้ผลดีอีกวิธีหนึ่ง และเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ผู้ป่วยจะได้รับการฟอกเลือดสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง เฉลี่ยเดือนละ ๙ ครั้ง ค่าใช้จ่ายสำหรับการฟอกเลือด เฉลี่ยครั้งละประมาณ ๒,๐๐๐-๒,๕๐๐ บาท ผู้ป่วยและญาติควรมีทุนสำรองหมุนเวียนใช้จ่ายประมาณเดือนละ ๒๐,๐๐๐-๓๐,๐๐๐ บาท
๔. การปลูกถ่ายไต
การปลูกถ่ายไต หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า การเปลี่ยนไต เป็นวิธีการรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้ผลดีที่สุดในปัจจุบัน ผู้ป่วยจะมีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงปกติเพียงแต่ต้องกินยา การรักษาด้วยวิธีนี้มีความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงของยากดภูมิคุ้มกันที่ใช้ควบคุมไม่ให้ร่างกายต่อต้านไตใหม่ที่ปลูกถ่าย และผลของการรักษาขึ้นกับสภาพร่างกายของผู้ป่วยก่อนได้รับการปลูกถ่ายไตด้วย การตรวจร่างกายอย่างละเอียด การคัดเลือกผู้ป่วยที่เหมาะสม การเตรียมผู้ป่วยให้พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจมีความสำคัญยิ่ง ปัจจุบันมีคนไทยที่ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังรอรับการปลูกถ่ายไตมากกว่า ๑,๐๐๐ ราย แต่ได้รับการปลูกถ่ายไตเพียงปีละ ๑๐๐ รายต่อปีเท่านั้น หรือประมาณร้อยละ ๑๐ ทุกปีจะมีผู้ป่วยไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในจำนวนผู้ป่วย ๑,๐๐๐ รายที่รอการปลูกถ่ายไต กว่าจะได้รับการปลูกถ่ายไตหมดต้องใช้เวลาประมาณ ๑๐ ปี

การป้องกันโรคไตเรื้อรัง
นอกจากการวัดค่า"แรงม้าของไต"แล้วสิ่งที่ควรปฏิบัติ มีดังนี้
๑. ตรวจเช็กดูว่า เป็นความดันเลือดสูง เบาหวาน และโรคเกาต์ หรือไม่ ถ้าเป็นจะต้องรักษาอย่างจริงจังและต่อเนื่องจนสามารถควบคุมระดับความดันเลือด ระดับน้ำตาลและกรดยูริกในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
๒. เมื่อเป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ)หรือมีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ (เช่น นิ่ว ต่อมลูกหมากโต) จะต้องทำการรักษาให้หายขาด
๓. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่อาจมีพิษต่อไต และระมัดระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีเลือดไปเลี้ยงไตไม่ดี (หัวใจวาย หลอดเลือดแดงไตตีบ เป็นต้น)ในกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันเลือดสูง เราควรมองว่าโรคสมอง โรคหัวใจ และโรคไต ที่เกิดจากโรคทั้ง ๒ ดังกล่าว เป็นเรื่องเดียวกัน คือ เป็นเรื่องความเสื่อมของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย ทำให้อวัยวะต่างๆขาดเลือดไปเลี้ยง เพียงแต่สมองและหัวใจถูกกระทบก่อน เพราะเป็นอวัยวะสั่งการ ส่วนไตเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ขับของเสียจึงปรากฎอาการในระยะหลังเมื่อโรคไตเป็นมากแล้ว
ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน และความดันเลือดสูงทุกคนจำเป็นจะต้องรับการตรวจ การทำหน้าที่ของไตเป็นระยะๆ ด้วยการตรวจเลือดและปัสสาวะ หากพบว่าเริ่มมีการเสื่อมของไตระยะแรกเริ่ม (ก่อนมีอาการ) จะได้หาทางขจัดปัดเป่าให้ดีขึ้นได้ อย่าประมาท ปล่อยจนมีอาการแสดงชัดเจน ก็อาจสายเกินแก้ได้