วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ภาวะไตวาย

ไตเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย ช่วยในการกำจัดของเสียที่เป็นของเหลวออกมาเป็นปัสสาวะ เหงื่อและการระเหยจากการหายใจ ช่วยรักษาปริมาณน้ำในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล นอกจากนี้ยังมีหน้าที่อื่นๆอีก
-ดังนั้นถ้าเกิดความผิดปกติขึ้นกับไต ที่เรียกว่าภาวะไตวาย เป็นเหตุให้ไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ก็ย่อมมีผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกายก็ขอเชิญฟังคำอธิบายของ
รศ.นพ.วีระสิงห์ เมืองมั่น จากภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีนพ.วิชนารถ : ก่อนอื่นขอให้อ.ช่วยอธิบายถึงหน้าที่ของไตที่มีต่อร่างกาย
นพ.วีระสิงห์ : หน้าที่ของไตที่เห็นง่ายๆคือ กำจัดของเสียที่เป็นของเหลว รักษาปริมาณน้ำในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล รักษาระดับเกลือแร่ ความเป็นกรดเป็นด่าง ดูดซึมและเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และยังมีหน้าที่อื่นๆอีกมาก
นพ.วิชนารถ : แล้วที่เรียกว่าภาวะไตวายนี้เกิดอาการผิดปกติอย่างไรกับไต
นพ.วิชนารถ : เพราะสาเหตุใดจึงเกิดภาวะไตวายขึ้นได้
นพ.วีระสิงห์ : สาเหตุของไตวายมีดังนี้
1. การที่ร่างกายต้องเสียน้ำจากท้องเสียหรืออาเจียนมากๆ เมื่อเสียน้ำไปมากก็ไม่มีน้ำที่จะไปกรองไต ทำให้ไตไม่สามารถทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียได้ เกิดเป็นภาวะไตวาย
2. การเป็นโรคไตโดยตรง คือไตเองมีโรคหลายอย่าง เช่น โรคจากการอักเสบ โรคจากการติดเชื้อ โรคจากการมีภูมิต้านทานผิดปกติ จากการแพ้ จากการโดนสารพิษเป็นประจำจะทำให้ไตเสื่อมสภาพไป หรือแม้แต่บางคนที่เป็นมาลาเรียก็เกิดไตวายได้
3. มีการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะตั้งแต่ไตลงมาจนถึงกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ไตก็ไม่สามารถจะขับถ่ายน้ำได้เต็มที่
นพ.วิชนารถ : ผู้ป่วยจะทราบได้อย่างไรว่าเกิดภาวะไตวายขึ้น มีอาการเริ่มแรกอย่างไร
นพ.วีระสิงห์ : อาการเริ่มแรกที่พอจะบอกได้คือ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย รู้สึกปวดเมื่อยหลัง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ การผิดปกติในการถ่ายปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะมากไปหรือน้อยไป และมีอาการบวม หน้าตามีลักษณะของคนเป็นโรคไต คือหนังตาบวม ต่อไปเท้าบวม บางคนมีความดันโลหิตสูง
นพ.วิชนารถ : หลังจากผู้ป่วยเป็นไตวายไปสักระยะหนึ่งแล้วจะมีอาการอย่างไรแสดงออกมาอีก
นพ.วีระสิงห์ : จะมีอาการผิดปกติทางระบบปัสสาวะคือ ถ้าเป็นไตวายเฉียบพลัน จะปัสสาวะออกเป็นหยดหรือแค่ประมาณ 2 ถ้วยชา รวมแล้วไม่ถึง 1 แก้ว ส่วนภาวะไตวายชนิดเรื้อรัง มีปัสสาวะออกมาประมาณ 1-2 ลิตรต่อวัน แต่ปัสสาวะที่ออกมาจะใสมาก เนื่องจากเป็นปัสสาวะที่มีคุณภาพไม่ดีในคนปกติจะถ่ายปัสสาวะวันละประมาณ 1-1 ลิตรครึ่ง แต่ถ้าดื่มน้ำมากๆ ก็อาจจะเป็น 2-3 ลิตร และปัสสาวะที่ออกมาจะมีสารแร่ธาตุปน ทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้น มีสีเหลืองอ่อนๆ นอกจากนั้นผู้ป่วยยังมีอาการซึม อาจจะหอบ ความดันโลหิตสูง หัวใจวาย อาจมีอาการชัก หรืออาการหลงๆลืมๆ ความจำเสื่อม ความรู้สึกทางเพศเสื่อม แล้วแต่ว่าภาวะของโรคเป็นมากน้อยแค่ไหน
นพ.วิชนารถ : จากที่อ.อธิบายมารู้สึกว่าอาการของโรคนี้จะมีหลายอย่าง เมื่อเกิดเป็นไตวายขึ้นจะมีอันตรายมากน้อยเพียงใด
นพ.วีระสิงห์ : อันตรายขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น คนไข้เป็นโรคไตตั้งแต่เด็ก ก็จะเป็นไตอักเสบเรื้อรัง เมื่อเป็นผู้ใหญ่จะทำงานอะไรหนักหรือโลดโผนไม่ได้ในรายที่เป็นน้อยได้แก่ มีนิ่วไปอุดเมื่อไปผ่าตัดเอานิ่วออกแล้ว โรคไตวายก็ทุเลาไปส่วนในรายที่เป็นมากจนถึงขั้นไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ก็จะพบว่ามีสารเคมีในเลือดเพิ่มมากขึ้น คนไข้จะอ่อนเพลีย เพราะฉะนั้นอันตรายที่พบอาจจะเป็นได้ว่าคนไข้ป่วยมากจนกระทั่งไม่สามารถประกอบงานประจำวันได้
นพ.วิชนารถ : ไตที่มีอยู่ในร่างกายเรามี 2 อันคือด้านซ้ายและขวา เป็นไปได้ไหมที่ไตจะหยุดทำงานทีเดียวทั้งสองข้าง
นพ.วีระสิงห์ : ก็เป็นไปได้จากสาเหตุต่างๆ ในกรณีที่นิ่วไปอุดที่ท่อไตข้างหนึ่ง ไตข้างนั้นก็จะหยุดไปแต่ว่าอีกข้างหนึ่งก็จะทำงานต่อไปสักระยะหนึ่ง แต่ถ้าเผอิญคนนั้นเกิดเป็นนิ่วขึ้นอีกข้างหนึ่งไตก็จะหยุดไปอีกข้าง ความสามารถในการขับถ่ายไม่มี เกิดภาวะไตวายขึ้น
นพ.วิชนารถ : ถ้าเกิดมีภาวะไตวายขึ้นแล้ว แพทย์จะให้การรักษาอย่างไร
นพ.วีระสิงห์ : การรักษาโรคไตขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค คือ
1. พวกที่เป็นโรคไตเนื่องจากส่วนกรองเสียไปซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของคนไข้โรคไตขณะนี้ พบว่าการรักษาด้วยยาเป็นเพียงทำให้ทุเลาลง ต้องพยายามรักษาไตพวกนี้ไว้ เพราะถ้าเราไปทำงานหนักมากไตก็จะเสื่อมเร็วขึ้น
2.พวกที่มีนิ่วไปอุดตันก็สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดเอานิ่วออก
3. พวกที่ไตวายจากการรับสารพิษ (เช่น พวกช่างฟิตล้างคาบูเรเตอร์ของรถ) ชนิดหนึ่ง เรียกว่าคาร์บอนเตตะคลอไรด์ สารตัวนี้มีพิษทำอันตรายต่อไต แม้แต่สารที่เป็นโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว สารหนู ปรอทซึ่งอยู่ในอาหาร ยา เข้าสู่ไตมากๆ ก็ทำให้ไตวายได้ พวกนี้ต้องมีการหลีกเลี่ยงเพื่อรักษาไตไว้ให้นานที่สุด
นพ.วิชนารถ : การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ ทางที่ดีที่สุดก็คงจะเป็นการป้องกัน มีวิธีใดในการป้องกันโรคนี้ได้บ้าง
นพ.วีระสิงห์ : การป้องกันภาวะไตวายขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาสุขภาพเราเป็นสำคัญ หมั่นสังเกตตัวเองว่าขณะนี้การกิน การนอน การขับถ่ายของเราเป็นอย่างไรบ้างการป้องกันการเกิดนิ่วเราควรจะดื่มน้ำมากๆ วันหนึ่งควรดื่มน้ำประมาณ 7-8 แก้ว เพื่อให้มีการขับถ่ายน้ำปัสสาวะมากพอการกินอาหารก็ไม่ควรกินมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดสิ่งผิดปกติในร่างกายจากการขับถ่ายได้ และยาบางชนิดก่อนจะใช้ควรขอคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรการทำงานต่างๆ ก็ควรจะเลี่ยงสิ่งที่อาจทำให้ไตพิการได้ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือจะต้องคิดอยู่เสมอว่าเราจะทำอย่างไรที่จะป้องกันตัวเรา และควบคุมสิ่งที่จะเข้าสู่ร่างกายเราจากการสูดดมหายใจ จากการรับประทาน และจากการทำงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น